วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 9 ทรัพยากรบนเครือข่าย
ทรัพยากรบนเครือข่าย
 ที่มักถูกนำมาแชร์ใช้งาน ได้แก่ โฟลเดอร์และเครื่องพิมพ์




สิทธิ์ในการเข้าถึงทรัพยากร จะได้รับการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึง ซึ่งสามารถตั้งค่าใช้งานได้ทั้งแบบเต็มสิทธิ์(Full Control) หรืออ่านได้อย่างเดียว

เครื่องพิมพ์ที่เปิดแชร์ใช้งานบนเครือข่าย สามารถบริการงานพิมพ์ให้กับลูกข่ายต่างๆได้แม้ว่าเครื่องพิมพ์จะไม่ได้เชื่อมต่อตรงกับเครื่องสั่งพิมพ์ก็ตาม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องพิมพ์ที่เปิดแชร์ใช้งานบนเครือข่าย

การแมปไดรฟ์ เป็นการจำลองโฟลเดอร์ที่เปิดแชร์บนเซิร์ฟเวอร์ ให้เป็นไดร์ฟไดร์ฟหนึ่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแมปไดรฟ์


บทที่8  การวางแผนบัญชีผู้ใช้และการตั้งค่าเครื่องลูกข่ายเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์

การวางแผนบัญชีผู้ใช้ เกี่ยวข้องกับการสร้างยูสเซอร์ และกลุ่มแผนกต่างๆขันมา จากนั้นจึงค่อยนำยูสเซอร์เข้าสังกัตแผนกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการสิทธิ์ได้ง่ายขึ้น โดยเพียงกำหนดสิทธิ์ให้กับแผนก สิทธิ์เหล่านั้นก็จะส่งทอดไปยังยูสเซอร์ที่สังกัดแผนกนั้นๆ โดยอัตโนมัติ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การวางแผนบัญชีผู้ใช้


การตั้งค่าเครื่องลูกข่าย เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์นั้น จะต้องกำหนดโดเมน พร้อมกับหมายถึงไอพี ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีหมายเลขไอพีซ้ำกันไม่ได้

นอกจากผู้เข้าถึงต้องมีบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านแล้ว  ระบบยังสามารถกำหนดวันและเวลาล็อกอินโดยจะอนุญาตให้ผู้ใช้ล็อกอินเข้าสู่เคือข่ายภายใต้วันและเวลาที่กำหนดเท่านั้น รวมถึงยังสามารถกำหนดวันหมดอายุของบัญชีผู้ใช้รายนั้นๆด้วย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การตั้งค่าเครื่องลูกข่าย
บทที่ การติดตั้ง Active Directory
Active Directory เป็นศูนย์รวมของการบริหารจัดการเครือข่าย รวมถึงเป็นแหล่งรวมทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังมีส่วนการทำงานอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
1.Active Directory Service
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Active Directory Service

2.Active Directory Database

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Active Directory Database

โดเมนทรี  (Domain tree)  คือกลุ่มของโดเมนที่อยู่ภายใต้ทรีเดียวกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โดเมนทรี  (Domain tree)

ฟอเรสต์  (Forest)  คือกลุ่มของเมนทรี

ออบเจ็กต์  (Object) คือส่วนที่เล็กที่สุดของไดเร็กทอรี ได้แก่ บัญชีใช้ กลุ่มใช้ โฟลเดอร์ และ เครื่องพิมพ์ที่เปิดแชร์ โดยแต่ละออบเจ็กต์ก็จะมี  Attribute ที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของออบเจ็กต์นั้นๆ

OU (Organization Unit) เป็นคอนเทนเนอร์ที่จัดเก็บออบเจ็กต์ต่างๆ ให้หมวดหมู่ เช่น การใช้ OU แทนหน่วยงานแผนกต่างๆ เป็นต้น

โดเมน (Domain) เป็นแหล่งรวมทรัพยากรต่างๆ เช่น บัญชีผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ โฟลเดอร์และ เครื่องพิมพ์ที่เปิดแชร์ รวมถึงเครื่องเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในเครือข่าย ด้วยการนำออบเจ็กต์เหล่านั้นมาเก็บอยู่ภายใต้โดเมนเดียวกัน

หน้าที่ของโดเมนคอนโทรลเลอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน้าที่ของโดเมนคอนโทรลเลอร์

1.ตรวจสอบการล็อกอินและสิทธิ์ของยูสเซอร์ที่มีสิทธิ์ใช้ทรัพยากรบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์
2.เป็นที่จัดเก็บและดูแล Active Directory Database ที่ให้บริการแก่ผู้บริหารระบบและยูสเซอร์
3.อัปเดต Active Directory Database บนโดเมนคอนโทรลเลอร์ทุกตัวที่อยู่ภายใต้โดเมนเดียวกัน















บทที่ 6 การติดตั้ง windows Server 2012
ระบบปฏิบัติการ windows Server 2012(R2) 

ประกอบด้วย  รุ่น ด้วยกัน คือ
1.Windows Server 2012 R2 Datacenter


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Windows Server 2012 R2 Datacenter

2.Windows Server 2012 R2 Standard
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Windows Server 2012 R2 Standard

3.Windows Server 2012 R2 Essentials
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Windows Server 2012 R2 Essentials
4. Windows Server 2012 R1 Foundation
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Windows Server 2012 R1 Foundation




สเปกขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถนำมาติดตั้ง Windows Server 2012 R2 คือ
โปรเซสเซอร์ 64 บิต ความเร็ว 1.4 GHz ขึ้นไป
หน่วยความจำหลัก (RAM) ขั้นต่ำ 512 MB
ฮาร์ดดิสก์ความจุขั้นต่ำ 32 GB
การ์ดเครือข่าย (Gigabit Ethernet : 10/100/1000baseT)
เครื่องขับดีวีดีรอมทั่วไปที่สนับสนุน
คีย์บอร์ดและเมาส์ทั่วไปที่สนับสนุน

เครื่องขับดิสก์ ไม่จำเป็นต้องมี

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของเครือข่าย

  ส่วนประกอบของเครือข่าย

    ส่วนประกอบของเครือข่าย ประกอบด้วย

         1. สายเคเบิล
         2. การ์ดเครือข่าย
         3. อุปกรณ์เพื่อการเชี่อมโยง
         4.เครื่องคอมพิวเตอร์
         5. ซอฟต์แวร์เครือข่าย
         6. โพรโทคอล









      รีพีตเตอร์/ฮับ  เป็นอุกรณ์ทวนสัญญาณ ที่ทำงานอยู่ในชั้นสื่อสารทางกายภาพบนแบบจำลอง OSI
โดย อุปกรณ์ฮับก็คือรีพีตเตอร์ชนิดหนึ่ง แต่เป็นรีพีตเตอร์ที่มีหลายๆ พอร์ต การเชื่องโยงเครือข่ายภาพฮับจะช่วยแค่เพียงเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยระยะทาง ไกลเท่านั้น


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รีพีตเตอร์/ฮับ

      บริดจ์ เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายกับสะพานเชี่อมโยงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย ขึ้นไป ทำงานอยู่ในชั้นสือสารกายภาพและชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล สำหรับเครือข่ายที่เชื่อมโยงผ่านอุปกรณ์บริดจ์นั้่น จะทำให้เกิดการแบ่งแยกเครือข่ายออกจากกัน ช่วยลดการคับคั้งของข้อมูลที่สื่อสารบนเครือข่าย




      สวิตซ์ เป็น อุปกรณ์ที่ผนวกคุณสมบัติระหว่างบิตและฮับเข้าด้วยกันกล่าวคือการทำงานของ สวิตซ์จะเหมือนกันบริด์ที่สามารถคัดกลั่นกรองข้อมูลภายในเครือข่ายได้ ในขณะเดียวกัน สวิตซ์ก็มีหลายพอร์เหมือนกันฮับที่สามารถไปเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หลาย เครื่่อง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สวิตซ์

     แอกเซสพอยต์ เป็นอุปกรณ์สำหรับรับส่งสัญญาณแบบไร้สาย หลังการทำงานคล้ายกับสวิตซ์แต่รับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย
 



     เร้าเตอร์  จะ ทำงานในสามลำดับชั้น แรกบนแบบจำลอง OSI ซึ้งประกอดด้วยชั้นสื่อสารทางกายภาพ ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล และชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่ายเร้าเตอร์จัดเป็นอุปกรณที่สำคัญมากในการ เชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยเฉพาะ เครือข่ายอิเทอร์เน็ต



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เร้าเตอร์ ภาพ


     เกตเวย์  จะ ทำงานอยู่บนชั้น 7 ลำดับชั้น โดยมักนำเกตเวย์ไปใช้งานเพื่อเป็นประตูการเชื่อมโยงเครือข่ายกับคอมพิวเตอร์ ที่สถาปัตยกรรมระบบที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องพีซี กับ เมนเฟรมคอวพิวเตอร์
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกตเวย์

รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายและเครือข่ายท้องถิ่น

             

รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายและเครือข่ายท้องถิ่น 

 

    การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

1. โทโปโลยีแบบบัส
เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า”บัส” (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โทโปโลยีแบบบัส
ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
2. โทโปโลยีแบบดาว    
โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology) เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือ ข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือสวิตช์ (Switch) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โทโปโลยีแบบดาว

ข้อดี
– การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
– เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
3. โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)  
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัว ของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)

ข้อดี
1.ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง
ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้นเป็น
ตนเองหรือไม่
2. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกัน
ของ สัญญาณข้อมูลที่ส่งออกไป
3.คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
1.ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำ
ให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
2.ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจ
สอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
4. โทโพโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology)
มีลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวแต่จะมีโครงสร้างแบบต้นไม้ โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอบ โครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โทโพโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology)

5. โทโพโลยีแบบผสม (Hybrid Topology)
เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโทโพโลยีแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เช่น การเชื่อมเครือข่ายแบบวงแหวน แบบดาว และแบบบัสเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน
เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) เป็นตัวอย่างที่ใช้ลักษณะโทโพโลยีแบบผสมที่พบเห็นมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อทั้งเครือข่ายขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หลากหลายที่เข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะถูกเชื่อมต่อจากคนละจังหวัด หรือคนละประเทศก็ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีสาขาแยกย่อยตามจังหวัดต่าง ๆ สาขาที่หนึ่งอาจจะใช้โทโพโลยีแบบดาว อีกสาขาหนึ่งอาจใช้โทโพโลยีแบบบัส การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันอาจใช้สื่อกลางเป็นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เป็นต้น
 https://oonuma55.files.wordpress.com/2013/02/014.jpg

สื่อสารกลางส่งข้อมูลและการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย

สื่อสารกลางส่งข้อมูล
และการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย


การส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์ เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสำหรับการส่งสัญาณดิจิตอลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์
การส่งสัญาณแบบรอดแบนด์ เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารหลายช่องทางเพื่อส่งสัญญาณ แอนะล็อก โดยข้อมูลที่ส่งสามารถลำเลียงอยู่บนช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์
สื่อสารกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย จะใช้สายเพื่อลำเลียงข้อมูล ตัวอย่างเช่น สายคู่บิดเกลียว สายโคกแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สื่อสารกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย
สื่อสารกลางส่งข้อมูลแบไร้สาย จะ ลำเลียงข้อมูลผ่านอากาศ  เนื่องจากอากาศมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจ่ายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีทั้งคลื่นความถี่ต่ำและคลื่นความถี่สูง ตัวอย่างเช่น 
คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ บลูทูธ  และอินฟราเรด
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
การพิจารณาสื่อกลางส่งข้อมูล จะพิจารณาจาก
1.ต้นทุน
2.ความเร็ว
3.ระยะทางและการขยาย
4.สภาพแวดล้อม
5.ความปลอดภัย
วิธีการเข้าถึงสื่อกลาง เป็นกลางนำโพรโทคอลมาใช้เพื่อควบคุมกลไกการส่งข้อมูล และวิธีการแก้ไขเมื่อเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลขึ้นภายในสายส่ง  โพรโทคอลที่นำมาใช้จัดการ ได้แก่ CSMA/CD และ Token passing 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการเข้าถึงสื่อกลาง 
โพรโทคอล CSMA/CD ประกอบด้วยกลไกการทำงาน ดังนี้
กลไกลที่1:  การตรวจฟังสัญญาณ
กลไกลที่2:  การเข้าถึงสื่อกลางร่วมกัน
กลไกลที่3:  การตรวจจับการชนกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ CSMA/CD
โพรโทรคอล  Token passing เป็นวิธีการเข้าถึงสื่อกลางที่ไม่มีการชนกันของกลุ่มข้อมูลเลย ทั้งนี้จะมีรหัสโทเก้นคอยวิ่งอยู่บนสายส่งเพื่อให้โหนดที่ต้องการส่งได้ ครอบครอง โดยโหนดที่ครอบครองรหัสโทเก้นเท่านั้น ที่จะสามารถส่งข้อมูลบนเครือข่ายได้ เมื่อส่งข้อมูลเสร็จสมบูรณ์จึงค่อยปลดรหัสโทเก้น เพื่อให้ดหนดอื่นๆครอบครองต่อไป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Token passing